วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

ภาพโฆษณา

6. ภาพโฆษณา (posters) เป็นสื่อทัศนวัสดุที่สร้างขึ้นประกอบการเรียนการสอน เพื่อการกระตุ้นชักชวนจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ เชื่อถือศรัทธาและนำไปสู่การแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป การใช้ภาพโฆษณาในทางการศึกษาช่วยให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามวัตถุ ประสงค์ได้โดยวิธีต่าง ๆ เช่น การเตือนให้ระวังภัยในการใช้เครื่องมือในโรงฝึกงาน การข้ามถนน การหลีกเลี่ยงยาเสพติด การจูงใจให้ช่วยกันรักษาความสะอาดในห้องเรียนอาคารเรียน บริเวณโรงเรียน การปฏิบัติตนในการซื้อและการรับประทานอาหารในโรงอาหาร การแจ้งเหตุที่เกิดขึ้นประจำวัน ลักษณะของภาพโฆษณาที่ดีควรมีลักษณะดังนี้คือ รูปแบบสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เนื้อหาและกลุ่มเป้าหมาย ต้องนำเสนอข้อมูลหรือแนวคิดเพียงเรื่องเดียว เด่นมองเห็นสะดุดตา เร้าความสนใจชวนให้ติดตาม สื่อความหมายได้รวดเร็วและตรงประเด็น แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ดูสวยงามแปลกหูแปลกตา อย่างไรก็ดีภาพโฆษณาที่นิยมใช้ในวงการธุรกิจซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับวงการศึกษาได้ มีรูปแบบแตกต่างกันสามารถจำแนกได้ 3 รูปแบบ ดังนี้
6.1 ภาพโฆษณาขั้นบุกเบิก (pioneering stage) ใช้ในการเสนอแนวคิด ปัญหา สาเหตุของสิ่งของ เหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นครั้งแรก รูปแบบของภาพโฆษณาแบบนี้มีลักษณะสร้างความเชื่อถือและยอมรับด้วยการนำเสนอรายละเอียดของข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักวิชา การสามารถอ้างอิงได้ แนะนำให้ผู้อ่านหรือผู้เรียนได้รู้จักและคุ้นเคยกับเนื้อหาข้อมูลใหม่ อาจกล่าวถึงเรื่องราวเชิงประวัติศาสตร์แหล่งกำเนิดอันทรงคุณค่า ชี้ให้เห็นประโยชน์และคุณค่าในการปฏิบัติตาม
6.2 ภาพโฆษณาขั้นการแข่งขัน (competitive stage)ใช้ในการกระตุ้นเร่งเร้าให้ปฏิบัติ ตามอย่างทันทีทันใด หากเป็นภาพโฆษณาทางธุรกิจการค้าจะเสนอให้กลุ่มเป้าหมายเห็นว่าสินค้าที่นำเสนอดีกว่าสินค้าประเภทเดียวกันอย่างไร รูปแบบของภาพโฆษณาแบบนี้จะเน้นการใช้คำเปรียบเทียบ (comparison phase) เช่น ดีกว่า สวยกว่า ทนทานกว่า ใช้ได้ผลกว่า ฯลฯ ในทางการศึกษาชี้ให้ผู้เรียนเห็นว่าการปฏิบัติตามคำแนะนำหรือเชิญชวนจะได้ประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวมมากกว่า เช่น ห้องเรียนที่สะอาดย่อมทำให้สุขภาพจิตดีกว่าห้องเรียนสกปรกขาดความเป็นระเบียบ ความซื่อสัตย์ทำให้สุขภาพจิตดีมีมิตรมากมายกว่าความไม่ซื่อตรง เป็นต้น
6.3 ภาพโฆษณาขั้นการตอกย้ำ (retentive stage) ใช้ในการย้ำเตือนให้จดจำและกระทำในสิ่งที่เชิญชวนนั้นอย่างสม่ำเสมอตลอดไป โดยใช้รูปภาพ สัญลักษณ์ หรือข้อความสั้น ๆ อาจเป็นปริศนาคำถาม คติคำคมที่มีความหมายกินใจทำให้ผู้เรียนจำได้อย่างขึ้นใจพูดได้ติดปาก เช่น “เป๊ปซี่ดีที่สุด” “ผู้จัดการเปลี่ยนไป” “เพื่อนคู่คิดมิตรคู่บ้าน” เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น